สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กการบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย

  • ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง ประชากร การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
    • สภาพทั่วไป
      • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ปัจจุบันได้รับ    การปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลจากขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
    • ที่ตั้งและอาณาเขต
      • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ที่ 2 บ้านป่าหวาย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 222.58 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 139,113 ไร่  โดยอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย ประมาณ 60 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวย ไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
        • ทิศเหนือติดต่อกับตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย
        • ทิศใต้ติดต่อกับตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย
        • ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย
        • ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
    • ลักษณะภูมิประเทศ
      • ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 500 - 1,000 เมตร จากทิศเหนือและทิศตะวันออก มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำลาว ห้วยทรายขาว ห้วยต้นกอก   ห้วยส้ม ห้วยเฮี้ย และห้วยแม่ยางมิ้น ส่วนทางทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 – 1,500 เมตร และมีที่ราบลุ่มเชิงเขาเพียงเล็กน้อย
        สภาพภูมิอากาศของตำบลศรีถ้อยส่วนใหญ่อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี หน้าหนาวอากาศจะหนาวจัด โดยมีการแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

        • ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคมอุณหภูมิเฉลี่ย  34 - 38 °C-
        • ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายนอุณหภูมิเฉลี่ย  25 - 33 °C-
        • ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์อุณหภูมิเฉลี่ย  18 – 10 °C
    • เขตการปกครองและประชากร
      • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ได้แก่
        • หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งต้อม นายเพชร โกสิน
        • หมู่ที่ 2 บ้านป่าหวาย นายวิง ไชยลังกา
        • หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัวสรวย นายศุปกิจ ฝอยทอง
        • หมู่ที่ 4 บ้านแม่ยางมิ้น นายบุญฤทธิ์  เต๋จ๊ะ
        • หมู่ที่ 5 บ้านห้วยเฮี้ย นายศรีวรรณ ธรรมโน
        • หมู่ที่ 6 บ้านพญากองดี นายสมบัติ    แสนเฒ่า
        • หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งยาว นายชัยวงค์  จันทร์เต็ม
        • หมู่ที่ 8 บ้านศรีถ้อย นายนรินทร์ คุณยศยิ่ง
        • หมู่ที่ 9 บ้านอายิโก๊ะ นายจะสี ปะกู
        • หมู่ที่ 10 บ้านทองทิพย์ นายสมรัก    อินถา
        • หมู่ที่ 11 บ้านใหม่แม่ยางมิ้น นายอธิน กุ่ยแก้ว
        • หมู่ที่ 12 บ้านม่วงคำ นายบรรจง  แสงคำ  (กำนันตำบลศรีถ้อย)
      •  ประชากรทั้งสิ้น 6,705 คน แยกเป็น ชาย 3,417 คน หญิง 3,288 คน จำนวนครัวเรือน 2,399 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 30 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลทะเบียนราษฎร ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2561)
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
ทุ่งต้อม
118
170
170
340
2
ป่าหวาย
65
81
70
151
3
หนองบัวสรวย
105
158
146
304
4
แม่ยางมิ้น
184
161
170
331
5
ห้วยเฮี้ย
296
392
355
747
6
พญากองดี
280
500
492
992
7
ทุ่งยาว
228
317
306
623
8
ศรีถ้อย
244
209
303
593
9
อายิโก๊ะ
300
468
408
876
10
ทองทิพย์
113
150
1156
306
11
ใหม่แม่ยางมิ้น
314
523
501
1,024
12
ม่วงคำ
152
207
211
418
รวมทั้งหมด
2,399
3,417
3,288
6,705
    • ข้อมูลสภาพทางเศรษฐกิจ

      • อาชีพ
        • การประกอบอาชีพหลักของประชากรในตำบลศรีถ้อย ได้แก่ การทำนา, การทำสวน เช่น ลำไย, ส้ม และยางพารา เป็นต้น, ค้าขาย, รับจ้าง, พนักงานบริษัท, ห้างร้าน และรับราชการ
      • หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
        • ปั๊มน้ำมันย่อย (ปั๊มหลอด)  20  แห่ง
        • โรงงานทำไวน์ 1  แห่ง
        • ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 แห่ง
        • ตลาดสด  1  แห่ง
        • ร้านก๋วยเตี๋ยว, ขนมจีน 10  แห่ง
        • ร้านบริการตัด แต่งผม หรือเสริมสวย 6 แห่ง
        • ร้านขายของชำ  60 แห่ง
        • โรงสีข้าว 13 แห่ง
        • โรงสุรากลั่น 4  แห่ง
        • โรงขนมจีน 1  แห่ง
        • โรงปั้นบล็อค,ทำท่อ 1 แห่ง
        • โรงกลึง   -    แห่ง
        • ร้านขายวัสดุก่อสร้าง  1 แห่ง
        • ร้านคาราโอเกะ   -   แห่ง
        • โกดังชั่งข้าว 2  แห่ง
        • ร้านขายปุ๋ย  8  แห่ง
        • โรงทำเฟอร์นิเจอร์  1 แห่ง
        • ร้านซ่อมรถ  7  แห่ง
        • ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์   2 แห่ง
        • ห้องเช่า 2 แห่ง
        • ร้านรับซื้อของเก่า 1 แห่ง
        • ร้านขายเนื้อหมู  2 แห่ง
        • โกดังเก็บสินค้า  2 แห่ง
        • บริการตู้น้ำมันหยอดเหรียญ  2 แห่ง
        • พื้นที่เช่าสัญญาณโทรศัพท์  2 แห่ง
        • ร้านอินเตอร์เน็ต 1 แห่ง
    • สภาพทางสังคม
      • การศึกษา
        • โรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง
          • โรงเรียนบ้านห้วยเฮี้ย  ตั้งอยู่  หมู่ที่  5
          • โรงเรียนบ้านแม่ยางมิ้น  ตั้งอยู่  หมู่ที่  11
        • โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2 แห่ง
          • โรงเรียนเวียงผาวิทยา  ตั้งอยู่  หมู่ที่  6
          • โรงเรียนศรีถ้อยสุนทรราษฎร์วิทยา ตั้งอยู่  หมู่ที่  7
        • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  4  แห่ง
          • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ยางมิ้น   ตั้งอยู่  หมู่ที่  4
          • ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดดอยจ้อง ตั้งอยู่  หมู่ที่  5
          • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพญากองดี   ตั้งอยู่  หมู่ที่  6
          • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศรีปัญญา    ตั้งอยู่  หมู่ที่  7
        • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  4  แห่ง
        • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  12 แห่ง
        • หอกระจายข่าว 13  แห่ง
      • สถาบันและองค์กรทางศาสนา
        • วัด 6 แห่ง
          • วัดบ้านทุ่งต้อมหมู่ที่  1
          • วัดบ้านหนองบัวสรวยหมู่ที่  3
          • วัดดอยจ้องหมู่ที่  5
          • วัดบ้านทุ่งยาวหมู่ที่  7
          • วัดบ้านศรีถ้อยหมู่ที่  8
          • วัดพระเจ้าทองทิพย์หมู่ที่  10
        • สำนักสงฆ์   3  แห่ง
        • โบสถ์คริสต์  11 แห่ง
        • หอแหย่(ลาหู่)   4  แห่ง
      • การสาธารณสุข
        • สถานพยาบาล (คลินิก)  2   แห่ง
        • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   1    แห่ง
        • อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ    100 %
      • หน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
        • ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย กระทรวงมหาดไทย
        • โรงเรียนระดับประถมศึกษา หมู่ที่ 5, 11  กระทรวงศึกษาธิการ
        • โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา หมู่ที่ 6, 7 กระทรวงศึกษาธิการ
        • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีถ้อย   กระทรวงสาธารณสุข
        • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   กระทรวงศึกษาธิการ
        • อำเภอแม่สรวย ตำบลศรีถ้อย
      • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
        • ตู้ยามจุดตรวจอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ตำบลศรีถ้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่  1 บ้านทุ่งต้อม
    • ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
      • การรวมกลุ่มของประชาชน
        • อำนวยกลุ่มทุกประเภท 38   กลุ่ม
          แยกประเภทกลุ่ม

          • กลุ่มอาชีพ
            • กลุ่มทำน้ำพริกเผา  หมู่ที่ 1
            • กลุ่มทำขนมทองม้วน หมู่ที่ 2 , 10
            • กลุ่มทำทอผ้า/กลุ่มทำไข่เค็ม หมู่ที่ 3
            • กลุ่มทำหน่อไม้อัดปี๊บ หมู่ที่ 4 , 6
            • กลุ่มเย็บปักถักร้อย/ผ้าเช็ดเท้า หมู่ที่ 5
            • กลุ่มทำพริกลาบ  หมู่ที่ 8 , 12
            • กลุ่มทำแหนม/ทำน้ำยาล้างจาน หมู่ที่ 7
            • กลุ่มทำขนมเทียน หมู่ที่ 9
            • วิสาหกิจชุมชน​ สยามพาราเซนเตอร์​ ผลิตผลิตภัณฑ์​แปรรูป​จากน้ำยางพารา​ ทำสระน้ำด้วยผ้าดิบ
              เคลือบน้ำยางสด   หมู่ที่ 8
            • กลุ่มทำขันโตกไม้ไผ่  หมู่ที่ 11
          • กลุ่มออมทรัพย์ 12 กลุ่ม
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่ 1
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  2
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  3
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  4
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  5
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  6
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  7
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  8
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  9
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  10
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  11
            • กลุ่มออมทรัพย์  หมู่ที่  12
          • กองทุนหมู่บ้าน 12 กองทุน
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 1
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 2
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 3
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 4
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 5
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 6
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 7
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 8
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 9
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 10
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 11
            • กองทุนหมู่บ้าน  หมู่ที่ 12
  • การบริการพื้นฐาน  
    • การคมนาคม
      • ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  มีการคมนาคมทางบกเป็นเส้นทางหลัก  โดยมีเส้นทางที่สำคัญ  ดังนี้
        • ถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย คือ สายศรีถ้อย - แม่พริก, สายศรีถ้อย - ป่าแดด
        • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ จำนวน 6 สาย  คือ  สายศรีถ้อย - ห้วยเฮี้ย , สายทุ่งต้อม - วัดทุ่งยาว, สายทุ่งต้อม - หนองบวกกวาง, สายป่าหวาย - ทองทิพย์, สายบ้าน      ห้วยเฮี้ย - บ้านทุ่งต้อม, สายบ้านห้วยเฮี้ย - บ้านทุ่งยาว
        • ถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย คือ สายจากบ้านใหม่แม่ยางมิ้น - อายิโก๊ะ
        • นอกจากนี้ยังมีถนนโครงข่ายที่แยกจากถนนสายหลักผ่านในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่และถนนลูกรัง
    • การโทรคมนาคม
    • การไฟฟ้า
      • ตำบลศรีถ้อยมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน (ยกเว้น หมู่ที่ 9 ที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์)
    • แหล่งน้ำธรรมชาติ
      • แม่น้ำ, ลำน้ำ, ลำห้วย  3  แห่ง
      • บึง, หนอง, สระน้ำ 4  แห่ง
    • แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
      • ระบบประปาหมู่บ้าน (หมู่ที่ 3, 5, 7, 8, 10, 11, 12)  6 แห่ง
      • ระบบประปาภูเขา (หมู่ที่ 4, 5, 6, 9)  4  แห่ง
  • ข้อมูลอื่น
    • ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่   
      • ด้านทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวน ซึ่งอยู่ระหว่างการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ปัจจุบันได้ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปทำกินเป็นส่วนมาก ป่าส่วนใหญ่เป็นไม้ประเภทป่าเบญจพรรณ
    • มวลชนจัดตั้ง
      • ลูกเสือชาวบ้าน 1  กลุ่ม
      • กลุ่มเยาวชน 12 กลุ่ม
      • กลุ่มแม่บ้าน 12 กลุ่ม
      • สมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
    • จุดเด่นของพื้นที่
      • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ประกอบไปด้วยชนพื้นราบและชาวไทยภูเขา ซึ่งประกอบด้วยกะเหรี่ยง ลีซอ อาข่า และลาหู่ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไทยภูเขาเหล่านี้ จะอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง หมู่ที่ 4, 6, 9, 11  การประกอบอาชีพปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ลำไยและยางพารา การท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ วิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ตำบลศรีถ้อย เช่น การทำขันโตกไม้ไผ่ การทำหน่อไม้อัดปี๊บ การจักรสาน การทำแหนมและซอลพริก    การเย็บปักถักร้อยและไม้ประดิษฐ์ การทอผ้า การทำขนมทองม้วนและดนตรีพื้นเมือง และแหล่งท่องเที่ยว เช่น น้ำตกห้วยหก น้ำตกห้วยหาญและน้ำตกป่าซ้อ ประเพณีที่สำคัญ ได้เก่ ประเพณีกินวอและการละเล่นจะคึ แต่เนื่องจากชาวไทยภูเขาอยู่พื้นที่ห่างไกลการคมนาคมค่อนข้างลำบาก จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาจากภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของชาวเผ่า
ข้ามไปยังทูลบาร์